สังเกตการสอน ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

การศึกษาและการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนให้ประโยชน์แก่ข้าพเจ้าดังนี้ 1. ทำให้ข้าพเจ้าได้ฝึกและเตรียมพร้อมความเป็นครู และได้เห็นตัวอย่างที่เป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย และสามารถนำมาปรับใช้ในอนาคต 2. ทำให้ข้าพเจ้าได้เข้าใจและเรียนรู้พัฒนาการของเด็กได้ตามสภาพจริง 3. ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การเรียนการสอน ตลอดจนกิจกรรมที่จัดกับเด็กๆ ในแต่ละวัน 4. ทำให้ข้าพเจ้าเรียนรู้วิธีและเทคนิคต่างๆ เช่น เด็กๆไม่สนใจใ นการทำกิจกรรม ครูก็จะใช้น้ำเสียงที่ดังกว่าปกติ เด็กก็จะหันมาสนใจในกิจกรรมที่ทำอยู่

การออกสอนหน้าชั้นเรียน

การออกไปสอนหน้าชั้นเรียน โดยมีเพื่อน ๆ นักศึกษาเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ค่ะ

สื่อคณิตศาสตร์

เป็นสื่อที่อาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุเหลือใช้เพื่อใช้ในการนับเลข ในคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยค่ะ

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

เพลงคณิตศาสตร์และคำคล้องจอง


เพลงและคำคล้องจองคณิตศาสตร์

1.กลอนหนึ่ง-สองหนึ่ง สอง มือตีกลอง ตะแล๊ก แทร๊กแทร๊กสาม สี่ ดูให้ดีห้า หก ส่องกระจกเจ็ด แปด ถือปืนแฝดเก้า สิบ กินกล้วยดิบ ปวดท้องร้องโอย โอย

2.กระรอกบอกข่าวกระรอก กระรอก เจ้ามาบอกข่าวขนนุ่ม หางยาว มากันกี่ตัวหนึ่ง สอง สาม สี่ อยู่นี่เป็น ห้ารีบบอกข่าวมา ไม่ต้องตื่นกลัวกระรอกบอกข่าว ว่าฝนจะตกตัวสั่นงันงก ส่งเสียงรัว รัว

3.ขวดห้าใบขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมาคงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง จะทำอย่างไรกันดี

4.จับปูหนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า จับปูม้ามาได้หนึ่งตัวหก เจ็ด แปด เก้า สิบ ปูมันหนีฉันต้องสั่นหัวกลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบที่หัวแม่มือลา ล้า ลา ..............................................
5.ซ้าย-ขวาเราใช้อะไร อ๋อมือสองข้างซ้าย ขวา ใช้ต่าง กันบ้างนิดหน่อยมือขวาถนัดกว่า เพราะว่าใช้บ่อยมือซ้ายใช้น้อย ไม่ค่อยถนัดเอย
6.

ซ้าย-ขวาปรบมือข้างซ้าย (ปรบมือทางซ้าย 2 ครั้ง)ปรบมือข้างขวา (ปรบมือทางขวา 2 ครั้ง)พวกเรามาสนุกเฮฮา ปรบมือข้างซ้าย ปรบมือข้างขวา

7.ซ้าย-ขวาเราปักชื่อที่เสื้อด้านขวา ด้านซ้ายนั้นหนามีกระเป๋าเราจำจากเสื้อของเรา เสื้อของเขาก็มีขวา-ซ้ายเอย

8.ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-กลาง-หนา-บางแม่กระต่ายเดินมา นำหน้าลูกน้อยเดินตามต้อยต้อย สีขาวอยู่หลังสีดำน่าดู เดินอยู่ตรงกลางทางซ้ายหญ้าบาง ทางขวาหนาเอย

9.เท่ากัน-ไม่เท่ากันช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขาคนเรานั้นหนา สองขา ต่างกันช้างม้า มีขา สี่ขา เท่ากันแต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย

10.นกกระจิบนั่นนกบินมาลิบลิบ นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้าอีกฝูงบินล่องลอยมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว

11.นกสิบตัวนกสิบตัวเกาะอยู่บนกิ่งไม้ตัวหนึ่งบินไปเหลือเก้าตัว(ลดจำนวนนกลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือนกหนึ่งตัว)นกหนึ่งตัวเกาะอยู่บนกิ่งไม้พอมันบินไปก็ไม่มีนกเหลือเลย

12.นับนิ้วมือนี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมีสิบนิ้วมือซ้ายฉันมีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้วนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบนับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

13.บน-ใต้ฉันนอน บนเตียง ส่งเสียง แจ๋วแจ๋วหนูห่ม ผ้าแล้ว ไว้กัน ลมหนาวนอนดิ้น ไปมา ฝันว่า คว้าดาวตื่นมา แสนหนาว ผ้าตก ใต้เตียง

14.บน-ใต้-ใกล้-ไกลลูกเป็ดยืนอยู่ใกล้ ฟางกองใหญ่ใกล้ริมทางลูกหมาวิ่งส่ายหาง ยังอยู่ห่างไกลออกไปลูกนกผกโผบิน แล้วบินเกาะบนไม้ใหญ่กระต่ายขาวแสนตกใจ วิ่งมาใต้ต้นไม้เอย

15.บวก-ลบบ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอมารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบบ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงสี่ใบ

16.เป็ดห้าตัวเป็ดน้อยห้าตัวเตาะแตะตามกัน เดินเพลิดเพลินมาในไพวัลย์ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง เป็ดน้อยสี่ตัวกลับมาน่าชัง(ถึงไม่กลับเลยแนะเออน่าชัง)แม่เป็ดขนงามเดินตามลูกไป ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ กึกก้องในไพวัลย์ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง เป็ดน้อยห้าตัวกลับมาดีจัง

17.มาก-น้อยแม่ให้ เงินพี่ วันนี้ ห้าบาทแต่ฉัน ได้ขาด สองบาท ใช่ไหมฉันได้ สามบาท น้อยกว่า เสียใจพี่ได้ มากกว่า ยิ้มร่า ยินดี

18.มาก-น้อย,เท่า-ไม่เท่า,สูง-ต่ำ,สั้น-ยาวมีเด็กสองคน วิ่งวนเลี้ยงไก่คนสูงถือไม้ อันยาวหนักหนามีไก่สิบตัว มากจนลายตาอีกคนน้อยกว่า ห้าตัววิ่งไวถือไม้อันสั้น เขานั้นตัวต่ำ(เตี้ย)นับไก่น่าขัน เท่ากันหรือไม่ห้าตัว สิบตัว รีบนับเร็วไวสูง-ต่ำมีไก่ ไม่เท่ากันเลย

19.แม่ไก่-ลูกไก่หนึ่ง สอง สามและสี่ แม่ไก่มีลูกสี่ตัวลูกจ๋าอย่าทำชั่ว จงเกรงกลัวเรื่องบาปกรรมลูกเจี๊ยบต่างรักแม่ จึงมีแต่เชื่อฟังคำทำดีทุกเช้าค่ำ หากทำชั่วจะเป็นทุกข์แม่มองเจี๊ยบทั้งสี่ เป็นเด็กดีแล้วมีสุขจึงร้องว่า “กุ๊ก กุ๊ก” แม่รักลูกทุกทุกตัว

20.แม่ไก่ออกไข่แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟองแม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง (นับต่อไปเรื่อยๆ)แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน สิบวันได้ไข่สิบฟอง

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบปลายภค วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.) คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ประถมศึกษาหรือไม่ พร้อมให้เหตุผล
ตอบ ต่างกัน เพราะเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ในสถานการณ์ของชีวิตประจำวันเป็นส่วนใหญ่ และ เป็นการสอนคณิตศาสตร์อย่างง่าย ไม่ซับซ้อน
2.) การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการอย่างไร
ตอบ
ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ ในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งประกอบด้วย 5 สาระ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

หลักการสอน

1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรูและลำดับขั้นของพัฒนาการความคิดรวบยอดของเด็ก เช่น การสอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
5. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
6. รู้จักใช้สถาการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
7. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง
8. ใช้วิธีการสอนให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข
9. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
10. เน้นกระบวนการ

3.) จงเลือกและอธิบายสาระทางคณิตศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ
ตอบ
จำนวนและการดำเนินการ
-เป็นจำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
-จำนวน 2 จำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่ง
- การเรียงลำดับจำนวน เช่นเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
-การบอกอันดับที่ เช่น ที่ 1 ที่ 2 ....
เรขาคณิต
- บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ เช่น ข้างใน ข้างนอก ระหว่าง เป็นต้น
- การพิจารณารูปร่างและขอบของรูป เช่น การจำแนกทรงกลม ทรงกระบอก และรูปวงกลม เป็นต้น
4.จงอธิบายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบ หน่วยดอกไม้
สำหรับดิฉัน ดิฉันจะอธิบาย ขั้นตอนในแผนการจัดประสบการณ์ที่ดิฉันได้เขียน ดังนี้ค่ะ
1. ครูสอนร้องเพลง “จ้ำจี้ดอกไม้” โดยการ
-ครูสอนให้เด็กๆ พูดตาม
-ครูสอนให้เด็กร้องตาม
-ครูให้เด็กๆ ร้องพร้อมกัน
จากนั้น ครูสนทนากับเด็ก โดยใช้คำถามดังนี้
-“เด็กๆ ค่ะ ในเพลงนี้ มีดอกไม้ชนิดใดบ้าง”
2. ครูสนทนากับเด็กโดยถามจากประสบการณ์เดิมของเด็ก เกี่ยวกับดอกไม้ที่มีลักษณะเป็นดอกช่อและดอกเดี่ยว ดังนี้
“เด็กๆ บอกครูซิว่าดอกไม้ชนิดใดบ้างที่เด็กๆรู้จักที่เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อ”
จากนั้น ครูหยิบบัตรภาพ เช่นดอกดาวเรือง กุหลาบ เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว และที่เหลือคือ ดอกที่มีลักษณะเป็นช่อ
และครูก็ถามเด็กๆ ว่า
- “เด็กค่ะ ที่เหลือ มีกี่ดอก” (โดยการให้เด็กช่วยกันนับ)
- และเด็กๆ ทราบหรือไม่ว่าดอกไม้แต่ละชนิดชนิดใดเป็นดอกไม้ที่มีลักษณะเป็นช่อบ้าง
3. ครูทำการสำรวจความต้องการของเด็ก โดยการ
-ครูถามเด็กว่า “เด็กๆ ชอบดอกไม้ชนิดใดกันบ้าง”และให้เด็กๆ ยืนเรียงกันตรงดอกไม้ชนิดที่ตนเองชอบ
-จากนั้นครูก็สำรวจความชอบของเด็กว่าชอบดอกไม้ชนิดใดมากกว่ากัน โดย
- ครูและเด็กช่วยกัน นับเด็กที่อยู่ดอกไม้แต่ละชนิด ออกพร้อมๆกัน เช่น นับ 1 ให้ออกมา ยืน ข้างนอกกลุ่ม นับไปเรื่อยๆจนหมด ถ้าดอกไม้ชนิดใดเหลือเด็กอยู่มากที่สุด แสดงว่า เด็กๆ ชอบดอกไม้ชนิดนั้นมากที่สุด

สื่อ
-เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี่ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่ จำปี จำปา มะลิ พิกุล กุหลาบ ชบา
บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา
เฟื่องฟ้า ราตรี

- บัตรภาพดอกไม้ที่มีลักษณะเป็นดอกช่อ และดอกเดี่ยว
5.) ท่านมีวิธีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างไรได้บ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม
ตอบ สำหรับดิฉันดิฉันจะให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ดังนี้ค่ะ
ดิฉันจะแนะนำให้ผู้ปกครองฝึกลูกในการสังเกตสิ่งต่าง ๆรอบตัว โดยผู้ปกครองตั้งคำถามง่าย ๆ สำหรับลูก ๆ เช่นขณะนั่งรถมาโรงเรียน ผู้ปกครองอาจจะถามลูกว่า “ลูกเห็นอะไรบ้างค่ะ” “ลุงยามหน้าหมู่บ้านของเรามีกี่คน” เป็นต้นค่ะ
หรือขณะรับประทานผลไม้ “ลูกต้องการแอปเปิ้ล กี่ชิ้นค่ะ”
หรือว่า “เช้านี้เราจะออกกำลังกายโดยวิธีใด ปั่นจักรยาน หรือเต้นเอโรบิค”
และควรฝึกให้ลูกหาเหตุผลโดยตนเอง

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

สรุปการเรียนรู้


จากการเรียนการสอนในวิชาการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ดิฉันสามารถบันทึกได้ดังนี้ค่ะ

จำนวน
เช่น การนับจำนวนนับ
การวัด
ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตื้ยกว่า เป็นต้น
เรขาคณิต
ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น

คณิตศาสตร์ที่ดีมีความสมดุลต่อไปนี้
-เน้นกระบวนการคิดและพัฒนาความคิดรวบยอด
-เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับกิจกรรม
(ชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ เช่น เช้า กลางวัน เย็น)
-แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ และลักษณะอย่างค่อยเป็นค่อยไป
-สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
(ครูทำเป็นตัวอย่าง) ครูให้แรงเสริม
-ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้ สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
-เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคิดศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
-เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจปฏิบัติ รู้จักตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
(ถ้าจัดกิจกรรมให้สอดคล้องจะเกิดประสิทธิภาพ)

หลักการสอนคณิตศาสตร์ครูปฐมวัยที่ดี
นอกจากเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก
และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่รู้
และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดีด้วย
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
ในชีวิตประจำวันเด็กมีอะไรบ้างในแต่ละวัน
เช่น ให้เด็กรินนมครึ่งแก้ว
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง
เช่น หน่วยกล้วย กล้วย 1 หวี มีกี่ลูกให้เด็กนับ และเด็กกัดกี่คำหมด
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4.เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้น
ของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5.ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์
เพื่อใช้ในการวางแผนกิจกรรม
(ต้องไม่ใส่ความรูสึกของครูเข้าไป เช่น น้องบีบี เกิดสงสาร
จึงแบ่งของให้เพื่อน
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเด็ก
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เกิดประโยชน์
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลข

การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้
เป็นการจัดสภาพแวดล้อมที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมที่หลากหลาย
ตามความสนใจและความสามารถของเด็ก-เทคนิคการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
เช่น
แบบสังเกต เป็นต้น

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
1. การนับ
2. ตัวเลช
3. การจับคู่
4. การจัดประเภท
5. การเปรียบเทียบ
6. การจัดลำดับ
7. รูทรงและเนื้อที่
8. การวัด
9. เซต
10. เศษส่วน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แผนการจัดประสบการณ์ หน่วยดอกไม้



แผนการจัดประสบการณ์ หน่วยดอกไม้
จุดประสงค์
1. เพื่อให้เด็กบอกชื่อดอกไม้ที่มีลักษณะดอกช่อและดอกเดี่ยวได้อย่างน้อย 3 ชนิด
2. เพื่อให้เด็กสามารถจำแนกลักษณะของดอกไม้ที่มีลักษณะเป็นช่อและดอกเดี่ยวได้
3.จำนวนมาก-น้อย
4. พัฒนาความคิดและจินตนาการได้

สาระการเรียนรู้

สาระที่ควรเรียนรู้
1.ดอกเดี่ยว เป็นดอกที่เกิดขึ้นบนก้านดอก เป็นดอกเดียวโดดๆ ในแต่ละข้อของกิ่งหรือลำต้น เช่น ชบา กุหลาบ ดาวเรือง เป็นต้น

2. ดอกช่อ เป็นดอกที่เกิดเป็นกลุ่มอยู่บนก้านดอกใหญ่เดียวกัน และประกอบด้วยก้านดอกย่อยๆ หลายดอก ลักษณะการติดของดอกทำให้เกิดช่อดอกแบบต่างๆ กัน เช่น กล้วยไม้ เป็นต้น

ประสบการณ์สำคัญ
1. การแยกชนิดของดอกไม้ที่มีลักษณะเป็นดอกช่อและดอกเดี่ยว

กิจกรรมการเรียนรู้
1. ครูสอนร้องเพลง “จ้ำจี้ดอกไม้” โดยการ
-ครูสอนให้เด็กๆ พูดตาม
-ครูสอนให้เด็กร้องตาม
-ครูให้เด็กๆ ร้องพร้อมกัน
จากนั้น ครูสนทนากับเด็ก โดยใช้คำถามดังนี้
-“เด็กๆ ค่ะ ในเพลงนี้ มีดอกไม้ชนิดใดบ้าง”
2. ครูสนทนากับเด็กโดยถามจากประสบการณ์เดิมของเด็ก เกี่ยวกับดอกไม้ที่มีลักษณะเป็นดอกช่อและดอกเดี่ยว ดังนี้
“เด็กๆ บอกครูซิว่าดอกไม้ชนิดใดบ้างที่เด็กๆรู้จักที่เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อ”
จากนั้น ครูหยิบบัตรภาพ เช่นดอกดาวเรือง กุหลาบ เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว และที่เหลือคือ ดอกที่มีลักษณะเป็นช่อ
และครูก็ถามเด็กๆ ว่า

- “เด็กค่ะ ที่เหลือ มีกี่ดอก” (โดยการให้เด็กช่วยกันนับ)
- และเด็กๆ ทราบหรือไม่ว่าดอกไม้แต่ละชนิดชนิดใดเป็นดอกไม้ที่มีลักษณะเป็นช่อบ้าง
3. ครูทำการสำรวจความต้องการของเด็ก โดยการ
-ครูถามเด็กว่า “เด็กๆ ชอบดอกไม้ชนิดใดกันบ้าง”และให้เด็กๆ บอกคุณครูทีละคน โดยครูใช้
ทักษะการเขียนกระดาษ วงกลมแทนเด็กจำนวน 1 คน
-จากนั้นครูก็สำรวจความชอบของเด็กว่าชอบดอกไม้ชนิดใดมากกว่ากัน โดย
- ครูและเด็กช่วยกัน นับวงกลม ซึ่งแทนตัวเด็กที่อยู่ดอกไม้แต่ละชนิด ออกพร้อมๆกัน
เช่น นับ 1 ก็ขีดเส้นยาว ในทุกๆ ดอกไม้ เพื่อแสดงระดับ นับไปเรื่อยๆจนหมด
ถ้าดอกไม้ชนิดใดเหลือวงกลุ่มอยู่มากที่สุด แสดงว่า เด็กๆ ชอบดอกไม้ชนิดนั้นมากที่สุด


แหล่งการเรียนรู้/สื่อ
-เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี่ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่ จำปี จำปา มะลิ พิกุล กุหลาบ ชบา
บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา
เฟื่องฟ้า ราตรี

- บัตรภาพดอกไม้ที่มีลักษณะเป็นดอกช่อ และดอกเดี่ยว

การประเมินผลการเรียนรู้
-สังเกต จากการตอบคำถามของและเด็กสามารถบอกชื่อดอกไม้ที่มีลักษณะเป็นดอกช่อและดอกเดี่ยวได้

ตัวอย่างสื่อการเรียนรู้
เช่น ดอกที่มีลักษณะเป็นช่อ


ดอกกล้วยไม้

ดอกราตรี


ดอกคูณ

และ ดอกที่มีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว

ดอกดาวเรือง

ดอกกุหราบ

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 18 กุมพาพันธ์ 2553

วันนี้เป็นการเรียนการสอนในคาบสุดท้ายค่ะ ซึ่งมีการเรียนการสอนในวันนี้มีลายละเอียด คือ
-การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
แต่ละหน่วยควรสอนปย่างไร ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ
-การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้
เป็นการจัดสภาพแวดล้อมที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมที่หลากหลาย
ตามความสนใจและความสามารถของเด็ก
-เทคนิคการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
เช่น
แบบสังเกต เป็นต้นค่ะ
และอาจารย์ได้สั่งงานให้เขียนบันทึกครั้งสุดท้ายลงใน blog
เป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการเขียนบันทึกจากที่ได้เรียนมาทั้งหมด
เป็นการสรุป ค่ะ
สำหรับบรรยากาศในการเรียน ก็เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้าย
อาจารย์ก็ให้คำแนะนำในการเรียนการสอนดีเหมือนเดิม อากาศเย็นสบาย
เอื้อต่อการเรียนรู้ค่ะ
ภาพสื่อที่อาจารย์นำมาให้นักศึกษาดู ว่ากิจกรรมที่จัดกับเด็กปฐมวัยควรเป็นสื่ออย่างไรบ้าง

ดิฉัน มี ตัวอย่าง เพียง 2 ตัว อย่าง จากการถ่ายภาพ ซึ่งไม่ชัด เพราะดิฉันนั่งหาก จาก จอ ค่ะ

วีดีโอนี้เป็นเรื่อง เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ซึ่งดิฉันได้เปิดดูโทรทัศน์ช่องหนึ่ง

มีเนื้อหาน่าสนใจ ดิฉันจึงบันทึกวีดีโอ นำมาใส่ Blog ค่ะ

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 12 กุมพาพัธ์ 2553






วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทดลองสอนหน้าชั้นเรียน

ต่อจากเมื่อวานคือหน่วยแมลง (กลุ่ม A) อนุบาล 1 ,2 และ 3

จากการสอนของนักศึกษาทั้งหมดอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ

กับนักศึกษาทุกคน เพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา กิจกกรม สื่อการสอน ตลอดจนการเขียนแผน

ว่าวัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ ควรเขียนอย่างไร
และอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษานำแผนที่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติม
มาปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

บรรยากาศในการเรียน
การเรียนวันนี้ได้เรียนห้อง ช. บริหาร ซึ่งห้องใหญ่ นั่งสบาย
แต่วันนี้ไม่เครียดค่ะ เพราะกลุ่มของดิฉันได้ออกไปสาธิตการสอนจากครั้งก่อนแล้ว
จึงรู้สึกโล่ง ค่ะ อาจารย์ก็ให้คำปรึกษา และคำแนะนำดีมาก เป็นกันเอง
ทำให้บรรยากาศไม่รู้สึกตรึงเครียด ทำให้กล้าที่จะแสดงออกมากขึ้นค่ะ