สังเกตการสอน ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

การศึกษาและการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนให้ประโยชน์แก่ข้าพเจ้าดังนี้ 1. ทำให้ข้าพเจ้าได้ฝึกและเตรียมพร้อมความเป็นครู และได้เห็นตัวอย่างที่เป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย และสามารถนำมาปรับใช้ในอนาคต 2. ทำให้ข้าพเจ้าได้เข้าใจและเรียนรู้พัฒนาการของเด็กได้ตามสภาพจริง 3. ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การเรียนการสอน ตลอดจนกิจกรรมที่จัดกับเด็กๆ ในแต่ละวัน 4. ทำให้ข้าพเจ้าเรียนรู้วิธีและเทคนิคต่างๆ เช่น เด็กๆไม่สนใจใ นการทำกิจกรรม ครูก็จะใช้น้ำเสียงที่ดังกว่าปกติ เด็กก็จะหันมาสนใจในกิจกรรมที่ทำอยู่

การออกสอนหน้าชั้นเรียน

การออกไปสอนหน้าชั้นเรียน โดยมีเพื่อน ๆ นักศึกษาเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ค่ะ

สื่อคณิตศาสตร์

เป็นสื่อที่อาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุเหลือใช้เพื่อใช้ในการนับเลข ในคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบปลายภค วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.) คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ประถมศึกษาหรือไม่ พร้อมให้เหตุผล
ตอบ ต่างกัน เพราะเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ในสถานการณ์ของชีวิตประจำวันเป็นส่วนใหญ่ และ เป็นการสอนคณิตศาสตร์อย่างง่าย ไม่ซับซ้อน
2.) การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการอย่างไร
ตอบ
ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ ในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งประกอบด้วย 5 สาระ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

หลักการสอน

1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรูและลำดับขั้นของพัฒนาการความคิดรวบยอดของเด็ก เช่น การสอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
5. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
6. รู้จักใช้สถาการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
7. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง
8. ใช้วิธีการสอนให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข
9. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
10. เน้นกระบวนการ

3.) จงเลือกและอธิบายสาระทางคณิตศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ
ตอบ
จำนวนและการดำเนินการ
-เป็นจำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
-จำนวน 2 จำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่ง
- การเรียงลำดับจำนวน เช่นเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
-การบอกอันดับที่ เช่น ที่ 1 ที่ 2 ....
เรขาคณิต
- บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ เช่น ข้างใน ข้างนอก ระหว่าง เป็นต้น
- การพิจารณารูปร่างและขอบของรูป เช่น การจำแนกทรงกลม ทรงกระบอก และรูปวงกลม เป็นต้น
4.จงอธิบายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบ หน่วยดอกไม้
สำหรับดิฉัน ดิฉันจะอธิบาย ขั้นตอนในแผนการจัดประสบการณ์ที่ดิฉันได้เขียน ดังนี้ค่ะ
1. ครูสอนร้องเพลง “จ้ำจี้ดอกไม้” โดยการ
-ครูสอนให้เด็กๆ พูดตาม
-ครูสอนให้เด็กร้องตาม
-ครูให้เด็กๆ ร้องพร้อมกัน
จากนั้น ครูสนทนากับเด็ก โดยใช้คำถามดังนี้
-“เด็กๆ ค่ะ ในเพลงนี้ มีดอกไม้ชนิดใดบ้าง”
2. ครูสนทนากับเด็กโดยถามจากประสบการณ์เดิมของเด็ก เกี่ยวกับดอกไม้ที่มีลักษณะเป็นดอกช่อและดอกเดี่ยว ดังนี้
“เด็กๆ บอกครูซิว่าดอกไม้ชนิดใดบ้างที่เด็กๆรู้จักที่เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อ”
จากนั้น ครูหยิบบัตรภาพ เช่นดอกดาวเรือง กุหลาบ เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว และที่เหลือคือ ดอกที่มีลักษณะเป็นช่อ
และครูก็ถามเด็กๆ ว่า
- “เด็กค่ะ ที่เหลือ มีกี่ดอก” (โดยการให้เด็กช่วยกันนับ)
- และเด็กๆ ทราบหรือไม่ว่าดอกไม้แต่ละชนิดชนิดใดเป็นดอกไม้ที่มีลักษณะเป็นช่อบ้าง
3. ครูทำการสำรวจความต้องการของเด็ก โดยการ
-ครูถามเด็กว่า “เด็กๆ ชอบดอกไม้ชนิดใดกันบ้าง”และให้เด็กๆ ยืนเรียงกันตรงดอกไม้ชนิดที่ตนเองชอบ
-จากนั้นครูก็สำรวจความชอบของเด็กว่าชอบดอกไม้ชนิดใดมากกว่ากัน โดย
- ครูและเด็กช่วยกัน นับเด็กที่อยู่ดอกไม้แต่ละชนิด ออกพร้อมๆกัน เช่น นับ 1 ให้ออกมา ยืน ข้างนอกกลุ่ม นับไปเรื่อยๆจนหมด ถ้าดอกไม้ชนิดใดเหลือเด็กอยู่มากที่สุด แสดงว่า เด็กๆ ชอบดอกไม้ชนิดนั้นมากที่สุด

สื่อ
-เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี่ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่ จำปี จำปา มะลิ พิกุล กุหลาบ ชบา
บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา
เฟื่องฟ้า ราตรี

- บัตรภาพดอกไม้ที่มีลักษณะเป็นดอกช่อ และดอกเดี่ยว
5.) ท่านมีวิธีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างไรได้บ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม
ตอบ สำหรับดิฉันดิฉันจะให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ดังนี้ค่ะ
ดิฉันจะแนะนำให้ผู้ปกครองฝึกลูกในการสังเกตสิ่งต่าง ๆรอบตัว โดยผู้ปกครองตั้งคำถามง่าย ๆ สำหรับลูก ๆ เช่นขณะนั่งรถมาโรงเรียน ผู้ปกครองอาจจะถามลูกว่า “ลูกเห็นอะไรบ้างค่ะ” “ลุงยามหน้าหมู่บ้านของเรามีกี่คน” เป็นต้นค่ะ
หรือขณะรับประทานผลไม้ “ลูกต้องการแอปเปิ้ล กี่ชิ้นค่ะ”
หรือว่า “เช้านี้เราจะออกกำลังกายโดยวิธีใด ปั่นจักรยาน หรือเต้นเอโรบิค”
และควรฝึกให้ลูกหาเหตุผลโดยตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น